โดยส่วนมาก เสาที่ต่อกับฐานรากขึ้นมา จะอยู่ตรงกลางของฐานรากพอดี หรืออยู่ในจุดที่สมมาตรกับฐานราก เพื่อให้การถ่ายน้ำหนักของฐานรากสามารถถ่ายลงดินได้สม่ำเสมอกันทั่วทั้งฐานราก (ซึ่งในความเป็นจริงอาจจะไม่สม่ำเสมอ เพราะอาจจะมีแรงดัด หรือโมเม้นต์ของเสามาด้วย ซึ่งวิศวกรผู้ออกแบบโครงสร้างจะทำการวิเคราะห์ ออกแบบให้เราอยู่แล้ว) แต่ในกรณีที่ตำแหน่งเสาต้องอยู่ตรงแนวชิดเขตที่ดิน มันจะทำให้ไม่สามารถทำให้เสาอยู่ในตำแหน่งกลางของฐานรากได้ ซึ่งในกรณีนี้จะเกิดขึ้นได้บ่อยในกรณีที่มีการต่อเติมบ้านในพื้นทีที่จำกัด (ผมจะพูดเฉพาะบ้านพักอาศัยนะครับ)
![]() |
ลักษณะการทำคานรั้งหรือ Strap Beam |
ส่ิงที่วิศวกรจะทำคือ การทำคานรั้งฐานรากของต้นที่เสาตั้งไม่ถูกตำแหน่ง ไปหากับฐานรากที่อยู่ตรงข้ามกับฐานรากตัวนั้น เพื่อให้เกิดการสมดุลแรงที่กระทำกับฐานรากครับ
คานตัวนี้จะออกแบบมาให้ทำกดฐานรากต้นที่อยู่ชิดแนวเขตที่ดิน ไม่ให้ถูกดินที่อยู่ใต้ฐานราก ดันยกขึ้นมาหรือที่เราเรียกว่า กระดกขึ้นมา ซึ่งหากฐานรากกระดกขึ้นมาได้ จะทำให้เกิดแรงดัดที่ตีนเสา และแรงนี้แหละครับที่จะทำให้เสาต้นชิดแนวเขตที่ดินหักที่ตำแหน่งดังภาพ Sketch ด้านล่างนี้ครับ ซึ่งแน่นอนครับ คานตัวนี้ต้องวิศวกรต้องวิเคาระห์ และออกแบบมาให้สามารถทำอย่างที่ว่าได้ ซึ่งจะคาดคะเนเอาเองไม่ได้ครับ
![]() |
หากไม่มีคานรั้ง จะทำให้เสาต้นชิดแนวเขตที่ดินหักได้ |
อ้อ อีกประการหนึ่งนะครับ ภาพที่ผมลงให้ดูเป็นภาพที่น้ำท่วมเกือบเต็มหลุมฐานราก ในกรณีนี้จะเห็นได้ทั่วไปครับ แต่ต้องกำชับให้ช่างสูบน้ำออกให้แห้งก่อนแล้วค่อยเทคอนกรีตฐานรากนะครับ เพราะน้ำจะทำให้กำลังของคอนกรีตลดลง ถึงแม้ช่างหลายคนบอกว่า ไม่เป็นไร คอนกรีตสามารถแข็งตัวในน้ำได้ ใช่ครับ แต่น้ำจะทำให้สัดส่วนของน้ำและซีเมนต์ มันไม่เป็นไปตามที่วิศวกรออกแบบมา และอีกประการหนึ่ง มันทำงานยากครับ เทคอนกรีตในน้ำ มันไม่สามารถรู้ได้ว่า ระดับเทอยู่ที่ตรงไหน และปาดหน้าปูนไม่ได้ครับ ถึงแม้จะมีช่างบางคน บอกว่าทำได้ แต่อย่าให้ทำเลยครับ เพราะสุดท้าย คุณภาพงานที่เราจะรับมา มันไม่ได้ตามที่วิศวกรเขาต้องการ และเสี่ยงต่อการวิบัติของอาคารของเราด้วยครับ.....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น