วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

แก้ไข ซ่อมแซมบ้าน ที่ไม่ทำให้กลายเป็นงานบานปลาย

วัสดีครับ !!!
ทักทายกันครั้งแรกของ Blog นี้นะครับ ในบทความนี้ผมจะขอเล่าประสพการณ์ในการที่เราต้องจ้างผู้รับเหมามาแก้ไขและต่อเติมบ้านของเราที่อยู่มานานหลายสิบปี ที่ดูแล้วเก่าและไม่ค่อยเจริญหูเจริญตาของเราที่เป็นเจ้าของบ้านเท่าไหร่ ให้กลายเป็นบ้านที่ดูเป็นบ้านอย่างที่เราต้องการ ซึ่งผมอยากจะแนะนำท่านที่กำลังต้องการอยากทำให้ทราบไว้ เผื่อจะช่วยให้เราจะได้ไม่ต้องเสียเปรียบช่างผู้รับเหมา หรือไม่ต้องกลายเป็นคนเขี้ยวฯ ในสายตาผู้รับเหมา จนทำให้ผู้รับเหมาทิ้งงานไป ...เสียทั้งสองฝ่ายครับ...

ในการแก้ไข ซ่อมแซมบ้าน จะไม่เหมือนการสร้างบ้านใหม่นะครับ ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขเราจะไปเปรียบเทียบกับการค่าใช้จ่ายในอัตราเดียวกันกับการสร้างบ้านใหม่ไม่ได้ เพราะการซ่อมแซมแก้ไข จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า เพราะว่าการแก้ไขจะมีการทำงานมากกว่าการสร้างใหม่ ถึง 3 เท่า ยังไงใช่มั๊ย? ก็คือต้องการรื้อของเดิมออกก่อน พร้อมกับการขนทิ้ง และการเริ่มต้นทำใหม่ และค่าดำเนินการในการแก้ไข ซ่อมแซมจะมากกว่าปกติประมาณเกือบเท่าตัว เพราะจะมีงานในการเตรียมการ การป้องกันของใช้ในภายในบ้านจะเสียหายจากการทำงานของช่าง ยิ่งเป็นถ้าหากในช่วงการทำงาน เจ้าของบ้านยังต้องอาศัยในบ้านด้วยแล้ว ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งจะไม่เหมือนการทำใหม่ ซึ่งสามารถเร่ิมในขั้นตอนการก่อสร้างได้เลย


ผมจะยกตัวอย่างการแก้ไข ซ่อมแซมบ้านหลังหนึ่งให้ดูนะครับ บ้านหลังนี้เป็นบ้านชั้นเดียว เจ้าของอาศัยมาเป็นเวลานานกว่ายี่สิบปีแล้ว พอมาถึงเวลานี้ รู้สึกว่า บ้านของตัวเอง มันดูไม่เหมือนบ้านเพื่อนบ้านเท่าไหร่แล้ว เพราะเขาปลูกสร้างกันใหม่ ด้วยวัสดุและเทคโนโลยี่สมัยใหม่กัน จึงต้องการที่จะ Upgrade เล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ดูทันสมัยกับเขาบ้าง !!!



สภาพเดิมของบ้านก่อนที่จะทำการซ่อมแซ่มแก้ไข
มาดูกันครับ...  ผมจะขอยกตัวอย่างเพียงส่วนเดียวนะครับ คือส่วนห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่น เดิมส่วนนี้จะมีหน้าต่างเป็นบานไม้เปิด / ปิดโดยการผลักออก ค้างไว้ 2 ชุด ฝ้าเพดานเป็นยิบซั่มบอร์ดฉาบรอยต่อเรียบธรรมดา ไม่มีการยกระดับหรือเล่นระดับแต่อย่างใด พื้นปูด้วยกระเบื้อง 12"x12" ธรรมดาทั่วไป 

ส่ิงที่เจ้าของบ้านต้องการคือ:
  1. เปลี่ยนหน้าต่างให้เป็นหน้าต่าง กระจก / อลูมิเนียม บานเลื่อน (Spec. ของวัสดุจะไม่ขอพูดถึงนะครับ) 1 บาน และอีกบานจะเปลี่ยนเป็นประตูบานเลื่อน กระจก / อลูมิเนียม เต็มพื้นที่ช่วงเสา (ดูรูปประกอบด้านล่าง) 
  2. ทำฝ้าเพดานใหม่ ให้ดูสูงขึ้น โดยการยกเล่นระดับเป็นหลุมด้านใน ติดตั้งโคมระย้า ให้ดูสวยงาม
  3. ปูกระเบื้องใหม่ ให้ดูหรูหราขึ้นกว่าเดิม ซึ่งช่างแนะนำให้เป็นกระเบื้องตัดขอบสีอ่อน ขนาด 50x50 ซม. 
  4. ทาสีใหม่ รวมทั้ง ทำสีบานประตูเดิม และวงกบประตูเดิม (ซึ่งเป็นไม้) 
ส่ิงที่เจ้าของบ้านคิด คือ.. งานที่จะทำ ไม่มีอะไรมากเลย แค่ย้ายหน้าต่าง และปูกระเบื้องทับไปเลย และก็ทาสีใหม่  ไม่มีอะไรมากเลย งานคงไม่แพง


สภาพของบ้านหลังจากที่ได้แก้ไขแล้ว โดยการเพปลี่ยนหน้าต่างเป็นบานกระจก / อลูมิเนี่ยม และเปลี่ยนหน้าต่างอีกบานให้เป็นประตูออกไปนอกตัวบ้าน เพื่อเป็นพื้นที่ทำสวนเล็ก ๆข้างบ้าน 
ส่ิงที่เป็นจริงคือ:
  1. หน้าต่างที่เอาออกไป ต้องเอาไปติดตั้งในที่ใหม่ ซึ่งช่างต้องไปติดช่องหน้าต่างที่ใหม่ รวมทั้งต้องเตรียมโครงสร้างรองรับหน้าต่าง เพื่อป้องกันการแตกรั้วของผนังหลังจากติดตั้งหน้าต่างไปแล้ว(ซึ่งบ้านหลังนี้ก่อผนังด้วยอิฐบล๊อก 6 ซม.ทั้งหลัง) แน่นอน !! ช่างคิดค่าแรงงานในการติดตั้งใหม่ แพงกว่าปกติแน่นอน เพระมีงานป้องกันความเสียหาย ป้องกันฝุ่น ต้องจัดหาพัดลมดูดอากาศ เพื่อให้คนในบ้านสามารถพักอาศัยได้หลังจากเลิกงานแล้ว
  2. งานทาสีใหม่ ช่วงต้องทำการลอกสีใหม่ทั้งหมดออกไปก่อน แล้วจึงจะทาสีรองพื้นก่อน แล้วจึงจะสามารถทาสีใหม่ทับได้ ซึ่งสีรองพื้นปูนเก่าจะมีราคาแพงกว่ารองพื้นปูนใหม่..
  3. งานปูกระเบื้อง ช่างสามารถปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่าได้เลย ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า แต่ความเป็นจริงแล้ว ปูกาวปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องใหม่ มีราคาแพงมาก ซึ่งเฉลี่ยแล้ว ปูนชนิดนี้มีราคาประมาณ 700-900 บาท / ถุง ซึ่งถุงหนึ่งจะปูได้ประมาณ 3 ตารางเมตรกว่าๆ เท่านั้น (ถึงแม้ว่าข้างถุงจะระบุไว้ว่าปูได้ถึง 5 ตารางเมตร) หมายความว่า ค่าวัสดุของงานปูกระเบื้องใหม่ จะเพิ่มขึ้นอีกถึง 300 บาท / ตารางเมตร ซึ่งแพงกว่างานกระเบื้องธรรมดามากๆ
ดังนั้น การที่เราจะทำการซ่อมแซม หรือต่อเติมบ้านใหม่ เราต้องคำนึงถึงส่ิงเหล่านี้ด้วยนะครับ อย่าคิดเอาเองว่า มันควรจะประมาณนี้ แล้วจ้างช่างรายวันมาทำไปเรื่อยๆ โดยที่เรารู้งบประมาณอยู่คนเดียว ซึ่งกรณีนี้ส่วนมากจะเกินงบที่คิดไว้ในใจ (มากกกก) ทางที่ดี ให้ช่างผู้รับเหมาเข้ามาตีราคาเป็นงานเหมารวมไปเลย โดยตกลงขอบเขตงาน และเงื่อนไขการว่าจ้างให้ดี แล้วทำสัญญาเป็นกิจจะลักษณะ จะดีกว่าครับ อย่างหลังนี้ เราจะรู้งบประมาณที่แน่นอน ชัดเจน หากเกินงบที่คิดไว้ในใจ ก็หยุดไว้ก่อน หรือหางบเพิ่มเติม แต่ควรจะมีราคาเปรียบเทียบจากช่างอย่างน้อย 2 - 3 รายนะครับ หรือให้ปรึกษาวิศวกรที่เรารู้จักและไว้วางใจก่อนตกลงว่าจ้าง ก็จะเป็นการดีมากครับ !!!


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น